3.4.1
ค่าสัมบรูณ์ (Absolute Value)
ค่าสัมบรูณ์ (Absolute Value)
ตัวเลขต่างๆ เช่น 1, 2, 5, 37.0, -9, 0, 243, 63.7, -19.4, 100 จะไม่มีความหมายอื่นใด นอกจากบอกปริมาณว่า "3 มากกว่า 2" เป็นต้น แต่ในชีวิตประจำวัน เราใช้ตัวเลขเชื่อมโยงกับความหมายต่างๆบางอย่าง เช่น 8.00 น. หมายความว่า เวลา 8 โมงเช้า, ปากการาคาด้ามละ 50 บาท เป็นต้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้เรียกว่า "ข้อมูล" ข้อมูลเป็นมากกว่าตัวเลข ข้อมูลบางประเภทมีความหมายทั้งในจำนวนลบ บวก และ ศูนย์ เช่น อุณหภูมิองศาเซลเซียส (degree Celsius, สัญลักษณ์ °C) ตัวอย่างเช่น ที่อุณหภูมิ 0 องศาเซลเซียส มีความหมายว่า น้ำกลายเป็นน้ำแข็ง (คือ จุดเยือกแข็งของน้ำ) หรือ ในทางบัญชี เช่น เราติดหนี้เพื่อนอยู่ 2 บาท แล้วเรายืมเงินเพื่อนคนนี้อีก 3 บาท เราจะเขียนว่า (-2) – 3 = -5 มีความหมายว่า เราติดหนี้เพื่อนอยู่ 5 บาท เป็นต้น
แต่ข้อมูลบางประเภทไม่สามารถเป็นจำนวนลบได้ เป็นจำนวนศูนย์ หรือ บวกได้เท่านั้น เช่น น้ำหนัก ส่วนสูง ระยะทาง เวลา เป็นต้น เพราะคงไม่มีใครบอกว่า นาย ก. เดินทางได้ระยะทาง -10 ไมล์ หรือ น้ำหนักของนาย ข. เป็น -58 กิโลกรัม ดังนั้นนักวิทยาศาสตร์จึงสร้างเครื่องหมาย Absolute value (ค่าสัมบรูณ์,
) เพื่อแยกความแตกต่างของข้อมูลประเภทนี้ จากข้อมูลประเภทอื่น.....ว่า ต้องมีค่าเป็นศูนย์ หรือ บวกเท่านั้น จะเป็นค่าลบไม่ได้

โดยทั่วไป ค่าสัมบรูณ์ (Absolute value) จะหมายถึง ระยะห่างระหว่างเลขนั้นกับศูนย์ หรือ ผลต่างระหว่างจำนวนนั้นกับศูนย์ (The distance between a number and zero on the number line is called the absolute value of the number : The official guide for GMAT Quantitative review 2nd edition, 2009)
ตัวอย่างเช่น 3 มีระยะห่างจากศูนย์ อยู่ 3 หน่วย
และ -3 ก็มีระยะห่างจากศูนย์ อยู่ 3 หน่วย เช่นเดียวกัน
วิธีแก้สมการของค่าสัมบรูณ์ (Absolute value)
เรามาดูตัวอย่าง และ คำตอบที่ถูกต้อง ก่อนจะรู้วิธีแก้สมการ Absolute value เพื่อฝึกให้น้องๆคิดวิเคราะห์ หาวิธีการ และ สรุปผล
วิธีแก้สมการ Absolute value
มี 2 วิธี คือ วิธีบวก-ลบ และวิธียกกำลังสองทั้งสองข้าง
มี 2 วิธี คือ วิธีบวก-ลบ และวิธียกกำลังสองทั้งสองข้าง
ตัวอย่างแรก
(อย่าลืมตรวจคำตอบ ทบทวนให้เข้าใจดียิ่งขึ้น)
-------------------------------------------------------------
-------------------------------------------------------------
(อย่าลืมตรวจคำตอบ ทบทวนให้เข้าใจดียิ่งขึ้น)
-------------------------------------------------------------
(อย่าลืมตรวจคำตอบ ทบทวนให้เข้าใจดียิ่งขึ้น)
-------------------------------------------------------------
-------------------------------------------------------------
(อย่าลืมตรวจคำตอบ ทบทวนให้เข้าใจดียิ่งขึ้น)
-------------------------------------------------------------
Note : ที่เราไม่นำ X2 + 41 = 0 มาคิด เพราะว่า ไม่มีค่า x ที่ยกกำลังสองแล้วบวกกับ 41 ได้เท่ากับศูนย์ เพราะ X2 มีค่าน้อยที่สุด คือ 0 (02 = 0 ส่วน (-2)2 = +4)
สังเกต : ย้อนกลับไปดูที่วิธีบวก-ลบ (วิธีแรก) ในตัวอย่างที่สี่ ตรงรูปดาวสีบานเย็น เราพบว่า ถ้าแก้สมการนี้ ผลลัพธ์จะเหมือนกับวิธียกกำลังสองทั้งสองข้าง (วิธีที่สอง) ตรงรูปดาวสีบานเย็น คือ (X2 + 41) . (X2 - 9) = 0 ซึ่งคือ (X2 + 41) = 0 และ (X2 - 9) = 0 นั่นเอง.........นั่นหมายความว่า คำตอบที่ได้จะเหมือนกันไม่ว่าจะแก้สมการด้วยวิธีใด (คำตอบของทั้งสองวิธี จะต้องได้คำตอบเหมือนกัน)
ผู้เขียน : SmartMathsTutor (ติวเตอร์กิ๊ก) (Update 13/ส.ค./56), (Update 21/พ.ย./56)
สังเกต : ย้อนกลับไปดูที่วิธีบวก-ลบ (วิธีแรก) ในตัวอย่างที่สี่ ตรงรูปดาวสีบานเย็น เราพบว่า ถ้าแก้สมการนี้ ผลลัพธ์จะเหมือนกับวิธียกกำลังสองทั้งสองข้าง (วิธีที่สอง) ตรงรูปดาวสีบานเย็น คือ (X2 + 41) . (X2 - 9) = 0 ซึ่งคือ (X2 + 41) = 0 และ (X2 - 9) = 0 นั่นเอง.........นั่นหมายความว่า คำตอบที่ได้จะเหมือนกันไม่ว่าจะแก้สมการด้วยวิธีใด (คำตอบของทั้งสองวิธี จะต้องได้คำตอบเหมือนกัน)
ผู้เขียน : SmartMathsTutor (ติวเตอร์กิ๊ก) (Update 13/ส.ค./56), (Update 21/พ.ย./56)
No comments:
Post a Comment