3.7.1
วิธีเทียบบัญญัติไตรยางศ์
วิธีเทียบบัญญัติไตรยางศ์
วิธีเทียบบัญญัติไตรยางศ์ มี 3 แบบ ดังนี้
แบบที่ 1 เรียนในสมัยประถม
โจทย์ตัวอย่าง ส้ม 2 ผล ราคา 10 บาท ถามว่า ส้ม 20 ผล ราคาเท่าไร
โจทย์ตัวอย่าง ส้ม 2 ผล ราคา 10 บาท ถามว่า ส้ม 20 ผล ราคาเท่าไร
แบบที่ 2 แบบสมการตั้งหาร
โจทย์ตัวอย่าง ส้ม 2 ผล ราคา 10 บาท ถามว่า ส้ม 20 ผล ราคาเท่าไร
โจทย์ตัวอย่าง ส้ม 2 ผล ราคา 10 บาท ถามว่า ส้ม 20 ผล ราคาเท่าไร
ข้อสังเกต
1. ไม่ว่าวิชาใด ฟิสิกส์ เคมี หรือแม้แต่คณิตศาสตร์ ในการคำนวณหน่วยมีความสำคัญเสมอ
2. อัตราส่วน (Ratio) ด้านซ้ายมือ เป็นอัตราส่วนของจำนวนส้ม 2 ผล ต่อ ราคา 10 บาท (ตามข้อมูลที่โจทย์ให้มา) อัตราส่วนด้านขวามือเป็นคำตอบที่ต้องการหา
3. เศษ (numerator) และส่วน (denominator) ต้องมีหน่วยเหมือนกันทั้งสองด้าน (ระวังสลับกัน!)
4. ให้เศษเป็นราคา ส่วนเป็นจำนวนผล ก็แก้สมการได้คำตอบเหมือนกัน
แบบที่ 3 แบบมองเป็นจำนวนเท่า (สำคัญมากใน GMAT, GRE)
โจทย์ตัวอย่าง ส้ม 2 ผล ราคา 10 บาท ถามว่า ส้ม 20 ผล ราคาเท่าไร
เขียนโดย : SmartMathsTutor (กิ๊ก) (11/October/2012)
File สำหรับ Download อยู่ ที่นี่
ยังมีต่อ.....เลื่อนลงเพื่ออ่านเพิ่มเติม
บัญญัติไตรยางศ์
แบบแปรผันตรง และ แบบแปรผกผัน
บัญญัติไตรยางศ์
แบบแปรผันตรง และ แบบแปรผกผัน
จากโจทย์ตัวอย่าง ส้ม 2 ผล ราคา 10 บาท ถามว่า ส้ม 20 ผล ราคาเท่าไร?? ตัวอย่างนี้เป็นบัญญัติไตรยางศ์แบบแปรผันตรง กล่าวคือ ส้ม 2 ผล ราคา 10 บาท ถ้าส้ม 20 ผล ราคาก็ต้องเพิ่มขึ้น คงไม่มีใครจะขายส้ม 20 ผลในราคาเท่ากับส้ม 2 ผล หรือในราคาต่ำกว่า 10 บาท เพราะขาดทุนแน่นอน ชีวิตประจำวันก็เป็นอย่างนี้
ส่วนบัญญัติไตรยางศ์แบบแปรผกผัน ตัวอย่างโจทย์ วัว 4 ตัว กินหญ้าหมด 1 วัน ถ้ามีวัวแค่ตัวเดียว จะกินหญ้าหมดกี่วัน หลายคนอาจขาดความรอบคอบ ตอบทันทีว่า วัว 1 ตัว ก็ต้องกินหญ้าหมดภายในเวลา 1 ใน 4 วัน (หรือ 6 ชั่วโมง) หากลองคิดตามความเป็นจริง จะเห็นว่า วัวมีจำนวนน้อยลง ใช้เวลากินหญ้าน้อยลงจากเดิม.....แต่หญ้ามีเท่าเดิม.....จะเป็นไปได้อย่างไง!!! เพราะฉะนั้นเมื่อจำนวนวัวลดลง แต่หญ้ามีเท่าเดิม วัวตัวเดียวย่อมใช้เวลากินหญ้ามากขึ้น
ส่วนบัญญัติไตรยางศ์แบบแปรผกผัน ตัวอย่างโจทย์ วัว 4 ตัว กินหญ้าหมด 1 วัน ถ้ามีวัวแค่ตัวเดียว จะกินหญ้าหมดกี่วัน หลายคนอาจขาดความรอบคอบ ตอบทันทีว่า วัว 1 ตัว ก็ต้องกินหญ้าหมดภายในเวลา 1 ใน 4 วัน (หรือ 6 ชั่วโมง) หากลองคิดตามความเป็นจริง จะเห็นว่า วัวมีจำนวนน้อยลง ใช้เวลากินหญ้าน้อยลงจากเดิม.....แต่หญ้ามีเท่าเดิม.....จะเป็นไปได้อย่างไง!!! เพราะฉะนั้นเมื่อจำนวนวัวลดลง แต่หญ้ามีเท่าเดิม วัวตัวเดียวย่อมใช้เวลากินหญ้ามากขึ้น
เพราะฉะนั้น วัว 4 ตัว กินหญ้าหมด 1 วัน ถ้ามีวัวแค่ตัวเดียว จะกินหญ้าหมด…4…วัน
เดิมมีวัว 4 ตัว หารด้วย 4 เป็นวัว 1 ตัว
ดังนั้นเดิม(วัว 4 ตัว)กินหญ้าหมด 1 วัน ก็ต้องคูณด้วย 4 เป็น(วัว 1 ตัว)กินหญ้าหมด 4 วัน
Note : วัว...หารลง 4 เท่า ดังนั้น วัน...ก็ต้องเพิ่มขึ้น 4 เท่า
เทคนิค “:” ข้างต้น สามารถประยุกต์ใช้กับโจทย์เทียบบัญญัติไตรยางศ์ผสม(ผันตรง + ผกผัน)ได้ เช่น บุรุษไปรษณีย์ 5 คน ส่งจดหมาย 50 ฉบับ หมดภายในเวลา 2 ชั่วโมง ถ้าเหลือบุรุษไปรษณีย์แค่ 1 คน ส่งจดหมาย 75 ฉบับ จะใช้เวลากี่ชั่วโมง
บุรุษไปรษณีย์ 5 คน ส่งจดหมาย 50 ฉบับ หมดภายในเวลา 2 ชั่วโมง ถ้าเหลือบุรุษไปรษณีย์แค่ 1 คน ส่งจดหมาย 75 ฉบับ จะใช้เวลา....15......ชั่วโมง
เขียนโดย : SmartMathsTutor (กิ๊ก) (11/October/2012)
เขียนโดย : SmartMathsTutor (กิ๊ก) (11/October/2012)
File สำหรับ Download อยู่ ที่นี่
----------------------------------------------------------
ความรู้ เรื่อง บัญญัติไตรยางศ์ ยังมีต่ออีก ไม่ได้มีเพียงเท่านี้
เข้าไปอ่านต่อได้ที่นี่ (คลิก)
----------------------------------------------------------
เข้าไปอ่านต่อได้ที่นี่ (คลิก)
----------------------------------------------------------
No comments:
Post a Comment