3.7.3
Percentage Change
เปอร์เซ็นต์เปลี่ยนแปลง
Percentage Change
เปอร์เซ็นต์เปลี่ยนแปลง
หมายถึง เปอร์เซ็นต์ของผลต่างเทียบกับค่าเดิม หรือกล่าวได้ว่า หน่วยต่างเทียบกับหน่วยเดิมแสดงในรูปเปอร์เซ็นต์ เพื่อให้ง่ายต่อการเปรียบเทียบเชิงธุรกิจ เช่น กำไร-ขาดทุนเปลี่ยนแปลงจากค่าเดิมไปกี่เปอร์เซ็นต์ ฯลฯ
Percentage change แบ่งย่อยเป็น 2 กรณี คือ Percentage Increase (เปอร์เซ็นต์เพิ่ม) และ Percentage Decrease (เปอร์เซ็นต์ลด)
---------------------------------------------------------------------------------
Percentage Increase
สมมุติว่า ปีนี้ขายสินค้าในราคา 24 บาท แต่ปีหน้าต้องการขายในราคา 30 บาท (ราคาขายเพิ่มขึ้น) เราจะหา Percentage Increase นี้.......ได้ดังนี้
วิธีคำนวณ
ขั้นแรก หาผลต่างของ 30 - 24 = 6
ขั้นที่สอง นำผลต่าง(คือ 6)เป็นตัวตั้ง หารด้วยค่าปีก่อน(คือ 24)
ขั้นที่สาม คูณด้วย 100 เพื่อทำเป็นเปอร์เซ็นต์
ขั้นที่สอง นำผลต่าง(คือ 6)เป็นตัวตั้ง หารด้วยค่าปีก่อน(คือ 24)
ขั้นที่สาม คูณด้วย 100 เพื่อทำเป็นเปอร์เซ็นต์
คณิตศาสตร์เป็นศาสตร์แห่งตรรกะ เหตุผล และที่มาของสูตร
ทำไมจึงเป็น 25% ไม่ใช่เป็น 20% หรือ ???
เหตุผล คือ เดิมปีนี้ขายราคา 24 บาท ปีหน้าขายราคา 30 บาท ต้องบวกเข้าไป 25% ของ 24 บาท (ปีเดิม) ซึ่งคือ 6 บาท จึงกลายเป็น 30 บาทเท่ากับราคาขายปีหน้า
ที่มาของสูตร [ตามความคิดของผู้นิยาม Percentage Change]
---------------------------------------------------------------------------------
Percentage Decrease
สมมุติว่า ปีนี้ขายสินค้าในราคา 30 บาท แต่ปีหน้าต้องการลดราคาขายเป็น 24 บาท เพื่อให้สู้กับคู่แข่งได้ (ราคาขายลดลง) เราจะหา Percentage Decrease นี้.......ได้ดังนี้
วิธีคำนวณ
ขั้นแรก หาผลต่างของ 30 - 24 = 6
ขั้นที่สอง นำผลต่าง(คือ 6)เป็นตัวตั้ง หารด้วยค่าปีก่อน(คือ 30)
ขั้นที่สาม คูณด้วย 100 เพื่อทำเป็นเปอร์เซ็นต์
ขั้นที่สอง นำผลต่าง(คือ 6)เป็นตัวตั้ง หารด้วยค่าปีก่อน(คือ 30)
ขั้นที่สาม คูณด้วย 100 เพื่อทำเป็นเปอร์เซ็นต์
คณิตศาสตร์เป็นศาสตร์แห่งตรรกะ เหตุผล และ การพิสูจน์
พิสูจน์ ตรวจความถูกต้อง
ข้อสังเกต (สำคัญมาก)
จากตัวอย่าง Percentage change ทั้งสองกรณี เราใช้ตัวเลขชุดเดิม คือ 24 และ 30 ซึ่งมีผลต่างเท่ากับ 6 แต่......พบว่า Percentage Increase จะมีค่ามากกว่า Percentage Decrease เสมอ เพราะเทียบจากตัวหาร(divisor)ที่น้อยกว่า ดังนั้นจำไว้ว่า ทั้ง Percentage Increase และ Percentage Decrease แม้เป็นข้อมูลเลขชุดเดียวกัน แต่ค่า Percentage Change จะไม่เท่ากัน
จากตัวอย่าง Percentage change ทั้งสองกรณี เราใช้ตัวเลขชุดเดิม คือ 24 และ 30 ซึ่งมีผลต่างเท่ากับ 6 แต่......พบว่า Percentage Increase จะมีค่ามากกว่า Percentage Decrease เสมอ เพราะเทียบจากตัวหาร(divisor)ที่น้อยกว่า ดังนั้นจำไว้ว่า ทั้ง Percentage Increase และ Percentage Decrease แม้เป็นข้อมูลเลขชุดเดียวกัน แต่ค่า Percentage Change จะไม่เท่ากัน
---------------------------------------------------------------------------------
สำหรับ GMAT, GRE (สำคัญ)
หากลองสังเกต จากการทำโจทย์ (เรากำลังมอง Concept Percentage Change ในมุมที่นอกกรอบ) เราสามารถคิด แก้โจทย์ปัญหา Percentage Change ด้วยวิธีเทียบบัญญัติไตรยางศ์ โดยมี Percentage Change เป็นตัวแสดงความสัมพันธ์ของข้อมูลทั้งสองปี (ปีนี้กับปีหน้า) เช่น หากปีนี้ ขาย 100 บาท ปีหน้า ราคาขายเพิ่มขึ้น 25% (Percentage Increase 25% --- แสดงความสัมพันธ์ของข้อมูล “ปีนี้กับปีหน้า” ในรูปเปอร์เซ็นต์)
ถ้าสินค้าอีกชนิดหนึ่ง ปีนี้ ขาย 200 บาท ปีหน้าเพิ่มราคาขายขึ้นเท่ากัน จะต้องขายในราคาเท่าไร???
วิธีคำนวณ
ปีนี้ ขาย 100 บาท ปีหน้าขายเพิ่มขึ้น 25% ดังนั้นปีหน้าต้องขาย 100 * 1.25 = 125 บาท
ใช้วิธีเทียบบัญญัติไตรยางศ์
ถ้าสินค้าอีกชนิดหนึ่ง ปีนี้ ขาย 200 บาท ปีหน้าเพิ่มราคาขายขึ้นเท่ากัน จะต้องขายในราคาเท่าไร???
วิธีคำนวณ
ปีนี้ ขาย 100 บาท ปีหน้าขายเพิ่มขึ้น 25% ดังนั้นปีหน้าต้องขาย 100 * 1.25 = 125 บาท
ใช้วิธีเทียบบัญญัติไตรยางศ์
หรือใช้วิธี Percentage Increase ก็ได้เช่นกัน
แบบฝึกหัด
1. http://www.mathsisfun.com/numbers/percentage-change.html
2. http://www.mathgoodies.com/lessons/percent/change.html
เขียนโดย : SmartMathsTutor กิ๊ก (05/พ.ย./2555)
File สำหรับ Download อยู่ ที่นี่
----------------------------------------------------------
ความรู้ เรื่อง บัญญัติไตรยางศ์ ยังมีต่ออีก ไม่ได้มีเพียงเท่านี้
เข้าไปอ่านต่อได้ที่นี่ (คลิก)
----------------------------------------------------------
ความรู้ เรื่อง บัญญัติไตรยางศ์ ยังมีต่ออีก ไม่ได้มีเพียงเท่านี้
เข้าไปอ่านต่อได้ที่นี่ (คลิก)
----------------------------------------------------------
No comments:
Post a Comment