3.3.9
วิธีแยกตัวประกอบสมการกำลังสอง ฉบับ Real Concept -Advance - 1
วิธีแยกตัวประกอบสมการกำลังสอง ฉบับ Real Concept -Advance - 1
-----------------------------------------------------------------------------
วิธีแยกตัวประกอบสมการกำลังสอง
ฉบับ Real Concept (ไม่ใช้สูตร)
Advance – ตอนที่ 1
ในเรื่องนี้ จะอธิบายวิธีแยกตัวประกอบสมการกำลังสอง โดยมีสัมประสิทธิ์หน้า X2 ซึ่งความยากอยู่ตรงที่ เราต้องจับคู่ตัวเลขหน้าพจน์แรก (สัมประสิทธิ์หน้าพจน์ X2) กับ พจน์หลัง (พจน์ X0) และใส่เครื่องหมาย บวก,ลบ หน้าพจน์หลัง ให้บวกกันได้เท่ากับตัวเลขหน้าพจน์กลาง (สัมประสิทธิ์หน้าพจน์ X) เรามาดูตัวอย่างกันเลยครับ
ตัวอย่างแรก
ขั้นแรก
พิจารณาที่พจน์ X2.......ดูที่สัมประสิทธิ์หน้าพจน์ X2
1. ถ้าสัมประสิทธิ์หน้า X2 เป็นเลข 1 เราแยกตัวประกอบได้ง่าย เขียนเป็น (X + ….) * (X + ….) ได้เลย เพราะ X2 เป็นผลจากการคูณครั้งที่ ๑ คือ X * X แต่ในตัวอย่างนี้ สัมประสิทธิ์หน้า X2 เป็นเลข 2 ดังนั้นให้แยกตัวประกอบของ 2 ออกมาก่อน ซึ่งมีเพียงคู่เดียว คือ 2 * 1
ขั้นที่สอง
ดูที่สัมประสิทธิ์หน้าพจน์ X0 ซึ่งคือ พจน์สุดท้ายของ Quadratic equation จากตัวอย่าง คือ “+3”
1. ให้หาเลข 2 จำนวนที่เมื่อนำมาคูณกันแล้วเท่ากับ “+3” มีกี่คู่ ตัวเลขใดบ้าง.....เขียนออกมาทั้งหมด ซึ่งตัวอย่างนี้มีเพียงคู่เดียว คือ 3 * 1
ขั้นที่สาม (สุดท้าย)
ให้จับคู่สัมประสิทธิ์ของพจน์แรก กับ พจน์สุดท้าย และใส่เครื่องหมาย บวก,ลบ ของพจน์หลัง แล้วบวกกันให้ผลลัพธ์ได้เท่ากับ สัมประสิทธิ์หน้าพจน์กลาง ในตัวอย่างนี้ คือ “+7”
Note : ควรรู้ (แยกเป็น 2 กรณี A และ B)
A. ถ้าสัมประสิทธิ์หน้าพจน์สุดท้ายเป็น บวก (“+”) แสดงว่า เครื่องหมายต้องเป็น (บวก, บวก) หรือ (ลบ, ลบ) เพราะ “บวกคูณบวก ได้บวก” หรือ “ลบคูณลบ ได้บวก” และซึ่ง
ก. ถ้าพจน์กลางเป็น บวก (“+”) แสดงว่า เครื่องหมายต้องเป็นบวกทั้งคู่
สำหรับสัมประสิทธิ์หน้าพจน์สุดท้ายเป็น บวก (“+”) เราเพียงจับคู่สัมประสิทธิ์ของพจน์แรก กับ พจน์สุดท้าย ให้ถูกต้อง
B. ถ้าสัมประสิทธิ์หน้าพจน์สุดท้ายเป็น ลบ (“-”) แสดงว่า เครื่องหมายต้องเป็น (บวก, ลบ) เพราะ “บวกคูณลบ ได้ลบ” และ ต้องพิจารณาทั้งสัมประสิทธิ์หน้าพจน์แรก และ พจน์หลัง โดยจับคู่สัมประสิทธิ์ของพจน์แรก กับ พจน์สุดท้าย และ ใส่เครื่องหมาย บวก,ลบ ให้ถูกต้อง ซึ่ง
ก. ถ้าพจน์กลางเป็น บวก (“+”) นั่นหมายความว่า ต้องพิจารณาทั้งสัมประสิทธิ์หน้าพจน์แรก และ พจน์หลัง ซึ่ง.....ผลคูณของตัวบวกต้องมีค่ามากกว่าผลคูณของตัวลบ เพราะเมื่อนำมาบวกกัน พจน์กลางจึงยังคงเป็นบวก
ข. ถ้าพจน์กลางเป็น ลบ (“-”) ต้องพิจารณาทั้งสัมประสิทธิ์หน้าพจน์แรก และ พจน์หลัง ซึ่ง.....ผลคูณของตัวลบต้องมีค่ามากกว่าผลคูณของตัวบวก เพราะเมื่อนำมาบวกกัน พจน์กลางจึงยังคงติดลบ
เพราะฉะนั้นจากตัวอย่าง
คำตอบต้องเป็น บวกทั้งคู่
นำเลขในขั้นที่ 1 และขั้นที่ 2 มาเข้าคู่กัน แล้วตรวจคำตอบ ดูว่า คู่ใด.....ถูกต้อง ซึ่งต้องอาศัยการฝึกทำบ่อยๆ การสังเกต จึงจะใส่ตัวเลขได้ถูกตำแหน่ง และ เข้าคู่ได้ถูกต้องรวดเร็ว
วิธีแยกตัวประกอบยังไม่จบเพียงแค่นี้
ถ้าอ่านทั้งหมด แล้วจะเข้าใจยิ่งขึ้น
คลิกเข้าไปอ่านต่อได้ที่นี่
----------------------------------------------------------
No comments:
Post a Comment